ชิปปิ้ง 5 ลักษณะการนำเข้า-ส่งออก ที่เป็นความผิดทางศุลกากร

ชิปปิ้ง 5 ลักษณะการนำเข้า-ส่งออก ที่เป็นความผิดทางศุลกากร-ninjashipping ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 5 ลักษณะการนำเข้า-ส่งออก ที่เป็นความผิดทางศุลกากร Untitled 1 1 768x402

ชิปปิ้ง  หลายคนทราบกันดีว่า ก่อนที่จะนำสินค้าเข้ามาหรือออกนอกในราชอาณาจักรนั้น ต้องมีการชำระภาษีอากร และดำเนินการผ่านพิธีศุลกากรให้ถูกต้องตามกฎหมายและครบถ้วน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้นำเข้าไม่ได้มีการละเมิดข้อกฎหมายของกฎหมายศุลกากร 

และเพื่อความราบรื่นในการนำเข้า-ส่งออก Ninjashipping ผู้ให้บริการชิปปิ้ง จะพามารู้จักกับลักษณะการนำเข้า-ส่งออก ที่เป็นความผิดทางศุลกากร ซึ่งความผิดทางศุลกากร ที่พบได้บ่อยในการนำเข้า-ส่งออก จำแนกได้เป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้

1.ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
หมายถึงการนำเข้า-ส่งออกนอกราชอาณาจักร ที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษีอากร หรือของที่ควบคุมการนำเข้า หรือของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง โดยของที่ลักลอบหนีหนีศุลกากรอาจเป็นของที่ต้องเสียภาษี หรือไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ และเป็นของต้องห้าม/ต้องกำกัดหรือไม่ก็ได้ หากผู้ที่นำเข้า-ส่งออกของ ไม่นำมาผ่านพิธีการศุลกากร ถือว่ามีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร

ทั้งนี้ กฏหมายศุลกากรได้กำหนดโทษสูงสุดสำหรับผู้กระทำผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร คือ ให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากร และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า รวมค่าภาษีอากรหรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
หมายถึงการนำของที่ต้องชำระค่าภาษีอากร เข้ามา-ออกนอกราชอาณาจักร โดยผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเจตนาเพื่อมิต้องชำระค่าภาษีอากรหรือชำระในจำนวนที่น้อยกว่าจำนวนที่ต้องชำระ อาทิ สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นเท็จ เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ ผู้นำเข้า-ส่งออก ที่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรจึงมีความผิดฐานสำแดงเท็จอีกฐานหนึ่ง

ตามกฏหมายศุลกากรได้กำหนดโทษสูงสุดสำหรับผู้กระทำผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร คือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีอากร และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้ารวมค่าภาษีอากรหรือจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีที่มีการนำของซุกซ่อนมากับของที่สำแดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร สำหรับของที่มีการนำมาซุกซ่อน โทษผู้กระทำผิด คือ ปรับเป็น 4 เท่าของค่าอากรที่ขาด และอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และ ภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด(ถ้ามี) และให้ยกของที่ซุกซ่อนมาให้เป็นของแผ่นดิน

3.ความผิดฐานสำแดงเท็จ
หมายถึงการสำแดงใดๆ ที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ไม่ตรงกับหลักฐานเอกสาร และข้อเท็จจริงในการนำเข้า-ส่งออก โดยการกระทำความผิดฐานสำแดงเท็จมีหลายลักษณะ เช่น
● การยื่นใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรอันเป็นความเท็จ หรือชักพาให้หลงผิดในรายการใดๆก็ตาม
● การไม่ตอบคำถามหรือไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่
● ละเลยหรือไม่รักษาบันทึกเรื่องราว หรือทะเบียน หรือสมุดบัญชี หรือเอกสาร หรือตราสารอย่างอื่นๆ ซึ่งกฏหมายศุลกากรกำหนดไว้
● ปลอมแปลงหรือใช้เอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราอย่างอื่น ที่ปลอมแปลงแล้ว
● การแก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลัง ที่ทางราชการออกให้แล้ว
● ปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้นๆ ใช้ในการปฏบัติหน้าที่ตามกฏหมาย

การกระทำลักษณะนี้ ให้ถือเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงถึงว่า ผู้กระทำความผิดมีเจตนาหรือไม่ กฏหมายศุลกากรได้กำหนดโทษสูงสุด สำหรับผู้กระทำผิดฐานสำแดงเท็จ คือ ปรับเป็นเงิน ไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

4. ความผิดฐานนำของต้องห้าม/ต้องกำกัดเข้ามา-ส่งออก นอกราชอาณาจักร
ในการนำเข้า-ส่งออกของต้องห้าม/ของต้องกำกัดหล่านี้ หากผู้นำเข้าปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฏหมายอื่นๆ กำหนดและได้รับอนุญาตแล้ว ผู้นำเข้าสามารถทำการนำเข้า-ส่งออกได้ แต่หากผู้ใดที่นำเข้าของต้องห้าม/ต้องกำกัดเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอณุญาต กฏหมายศุลกากรได้กำหนดโทษสูงสุดสำหรับผู้กระทำผิด คือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้าม/ข้อกำกัด และปรับเป็นเงิน 4 เท่า ของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
Link >> สิ่งของต้องห้ามและสิ่งของต้องกำกัด ที่จำเป็นต้องรู้ก่อนนำเข้าประเทศไทย (BuLL Logistics)

5. ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร
ในการนำเข้า-ส่งออกแต่ละครั้ง ผู้นำเข้าและส่งออก(ชิปปิ้ง)จะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนทุกขั้นตอนตามที่กฏหมายศุลกากรกำหนดไว้ และกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารการควบคุมการจัดเก็บภาษีอากรและการนำเข้า-ส่งออกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร อาทิ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรผิดท่า หรือ การขอยื่นปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบแบใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ย้อนหลัง

โดยการกระทําความผิดฐานฝ่าฝืนกฏระเบียบที่กําหนดไว้ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับ 1,000 บาท

ข้อมูล : กรมศุลกากร