ชิปปิ้ง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ อาจเป็นธุรกิจเล็กๆ ที่สามารถหล่อเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ หนึ่งในธุรกิจที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วที่สุดคือ ธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าใครก็ทำได้ ไม่จำกัดอายุ และเพศ
โดยเฉพาะ หากเลือกสินค้าถูกกลุ่ม ทำการตลาดถูกทาง รับรองว่าเส้นทางสายนี้ คุณจะไปได้ไกลอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การจะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง คุณจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ลึกและเคล็ดลับที่จะช่วยให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จได้อย่างปลอดภัย
โดยต่อไปนี้คือ 10 ขั้นตอนในการเริ่มต้นทำธุรกิจออนไลน์ ที่เราได้รวบรวมมาฝากสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
ขั้นตอนที่ 1: แผนธุรกิจ
แผนธุรกิจมีความสำคัญต่อการพัฒนาแผนงานและกรอบการทำงานที่จำเป็นเพื่อสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แผนธุรกิจสำหรับร้านค้าออนไลน์ควรไปถึงวิธีการที่จะใช้สำหรับการเงิน การทำการตลาด และการโฆษณาธุรกิจ (Ads.) ควรสร้างแนวคิดที่ชัดเจนว่าจะบรรลุความสำเร็จได้อย่างไร? หากคุณต้องการเงินทุน ก็จำเป็นต้องมีแผนธุรกิจเพื่อให้ได้นักลงทุนมีส่วนร่วมในความคิดของคุณ อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบเหล่านี้ไม่ได้มีความสำคัญน้อยลงแค่เพียงเพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 2: เลือกโครงสร้างธุรกิจค้าปลีกออนไลน์
เลือกโครงสร้างธุรกิจที่เหมาะสม หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับโครงสร้างที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ ให้คุณพิจารณาสิทธิประโยชน์ทางภาษี และ ข้อกำหนดของแต่ละรายการ เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/publish/index.html สามารถช่วยให้คุณตัดสินใจครั้งนี้ได้ เมื่อคุณมองแนวทางโครงสร้างธุรกิจและตัดสินใจแล้ว สามารถยื่นเอกสารเกี่ยวข้องที่จำเป็น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจถูกต้องและเป็นไปตามกฏหมาย
ขั้นตอนที่ 3: เลือกผลิตภัณฑ์ที่จะขาย
หากคุณไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง ก็จำเป็นต้องจัดหาสินค้า/ผลิตภัณฑ์จากโรงงานผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ที่มีความน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ สินค้ามีคุณภาพ และต้นทุนที่ไม่แพงจนเกินรับไหว อาทิ สินค้าจากจีนอย่างในเว็บไซต์ Taobao และ 1688 ที่เป็นแหล่งจำหน่ายราคาถูก ยิ่งซื้อมาก ยิ่งได้กำไรที่สูงขึ้น
ขั้นตอนที่ 4: รับบาร์โค้ดสำหรับผลิตภัณฑ์ของคุณ
ในการขายสินค้าตามกฎหมายให้กับผู้บริโภคผ่านร้านค้าออนไลน์คุณจะต้องใช้บาร์โค้ด UPC (Universal Product Code) คือ ระบบบาร์โค้ดที่ใช้สำหรับสินค้าค้าปลีก หรือหมายเลข 12 หลัก ซึ่งมักจะใช้ในแถบอเมริกาเหนือ (ประเทศอเมริกา และแคนาดา) สำหรับแต่ละรายการที่คุณขาย ซึ่งสินค้า/ผลิตภัณฑ์ของคุณอาจจะมีขนาด สี หรือลวดลายแตกต่างกัน หากเป็นเช่นนั้น คุณจะต้องใช้บาร์โค้ดแยกต่างหาก สำหรับแต่ละสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันการซื้อบาร์โค้ด UPC สามารถทำได้ทางออนไลน์อย่างง่ายดาย คุณสามารถซื้อรหัสต่อเนื่องในจำนวนมากๆ ได้พร้อมกัน ด้วยส่วนลดผ่านบริการออนไลน์ต่างๆ
ขั้นตอนที่ 5: การสร้างสินค้าคงคลัง
หากคุณเพิ่งสร้างธุรกิจออนไลน์ ก็จำเป็นที่จะต้องมีสินค้าคงคลังขนาดพอเหมาะ แต่ต้องระวังการสั่งสินค้ามาสต๊อกมากจนเกินไป อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่มีเงินทุนเพียงพอสำหรับสต๊อกคลังสินค้าเอง ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่เป็นผู้ผลิตหรือจัดหาสินค้าให้กับคุณได้ เมื่อคุณต้องการสินค้า ผู้จัดหาหรือซัพพลายเออร์จะส่งสินค้า/ผลิตภัณฑ์มายังร้านค้าออนไลน์ของคุณในราคาส่ง
ขั้นตอนที่ 6: เลือกชื่อโดเมนเนมและที่ตั้งของเว็บไซต์
สิ่งแรกที่คุณต้องเลือกคือผู้ให้บริการโฮสติ้งเช่นเดียวกับพื้นที่เว็บไซต์ การซื้อพื้นที่โดเมนและฟังก์ชั่นการตั้งค่าเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนนี้ยังต้องกานความเข้าใจในกระบวนการทางเทคนิคอยู่มากเนื่องจากเจ้าของธุรกิจจำนวนมากอาจยังเข้าไม่ถึงกระบวนการ ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ปัจจุบันมีทางเลือกที่ง่ายกว่านั้น เช่น การสร้างร้านค้าปลีกออนไลน์ใน Shopify (อ่านรีวิว Shopif ) BigCommerce (อ่านรีวิว BigCommerce) และ Wix (อ่านรีวิว WIX) ต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นช่องทางที่ยอดเยี่ยมสำหรับการทำเว็บไซต์ คุณสามารถสร้างโลโก้แบรนด์ และซื้อชื่อโดเมนของคุณเองได้
ขั้นตอนที่ 7: การสร้างเว็บไซต์
เมื่อตั้งค่าส่วนทางเทคนิคของเว็บไซต์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการออกแบบเว็บไซต์ให้สวยสะดุดตา รวมไปถึงการตั้งค่าธีม หมวดหมู่ ผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ ซึ่งคุณจะต้องจัดระเบียบผลิตภัณฑ์ให้เป็นระเบียบและเข้าใจง่ายที่สุด
ขั้นตอนที่ 8: การตั้งค่ารถเข็น
หากคุณเลือกใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป การตั้งค่าตะกร้าช้อปปิ้งของร้านจะทำได้ไม่ยากนัก แต่เมื่อคุณเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่มีไซต์ส่วนตัว ลูกค้าบางรายอาจหันหน้าหนีจากเว็บไซต์ร้านค้าของคุณ เนื่องจากพวกเขาอาจไม่แน่ใจในความปลอดภัยของเว็บไซต์ ส่วนนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญมาก ที่จะต้องพิจารณาเมื่อมีการสร้างร้านค้าปลีกออนไลน์จากไซต์ส่วนตัว
ขั้นตอนที่ 9: การเปิดตัว ทำโฆษณาและการตลาด
เมื่อธุรกิจของคุณได้รับการก่อตั้งขึ้น ผลิตภัณฑ์ของคุณก็พร้อมสำหรับการขายและพร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ขั้นตอนหลังจากนี้คือการใช้กลยุทธ์การตลาดและโฆษณาร้านค้าออนไลน์ของคุณบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพื่อขยายฐานลูกค้า
ขั้นตอนที่ 10: การดูแลธุรกิจ
นี่คือขั้นตอนที่คุณต้องทำไปตลอดชีวิตตราบใดที่ยังทำธุรกิจส่วนตัว การดูแลธุรกิจหมายถึงการดูแลด้านเทคนิค การมองหาจุดบกพร่องบนเว็บไซต์ การจัดการสินค้าคงคลัง ตลอดจนการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ ที่ช่วยขยายกลุ่มลูกค้าและรักษาลูกค้าเก่าเอาไว้ไม่ให้ปันใจ เช่น การจัดโปรโมชั่นต่างๆ แจกคูปอง จัดส่งฟรีเมื่อซื้อสินค้า 2 ชิ้นขึ้นไป ฯลฯ เป็นต้น