ชิปปิ้ง ธุรกิจสตาร์ทอัพในเวลานี้ อาจไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป แต่ใช่ ! มันคือธุรกิจของคนรุ่นใหม่ที่กำลังมีไฟ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ลักษณะสำคัญของธุรกิจประเภทนี้ คือถูกออกแบบให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทีมงาน โครงสร้างธุรกิจ การใช้เงินและการทำการตลาด โดยอาจจะไม่ใช่ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือได้รับการลงทุน (Venture Capital) หรือมีการ ‘Exit’ ผ่านการควบกิจการหรือการเข้าตลาดหุ้นแต่อย่างใด
ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.cloudway.com ระบุว่า 1 ใน 12 ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มาแรงและได้รับความนิยมสูงสุดในการก่อตั้งเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา คือธุรกิจขนส่งและการท่องเที่ยว ซึ่งจัดเป็นลำดับที่ 10 จากทั้งหมด 12 ธุรกิจสตาร์ทอัพ
Ninjashipping จึงขอนำเสนอสตาร์ทอัพน้องใหม่เฉพาะในอุตสาหกรรมเดินเรือ และเพิ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2019 ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในปีนี้ รวมถึงปีถัดๆ ไปอีกด้วย
● OceanOps เปลี่ยนเส้นทางของการขนส่งทางทะเลแบบไดนามิก
รู้หรือไม่ว่า 30% ของการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์(ชิปปิ้ง)ที่มาถึงช้านั้น อาจเนื่องมาจากการปฏิบัติงานล่าช้าและการจองตู้มากกว่าจำนวนที่กำหนด นอกจากนี้ อาจรวมไปถึงสภาพอากาศที่เลวร้าย สินค้าที่บรรทุก หรือความล่าช้าในอาคารผู้โดยสาร
OceanOps เป็นแพลตฟอร์ม SaaS (Software-as-a-Service) หรือการให้บริการด้าน Software และ Application ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ให้บริการชิปปิ้งลดความล่าช้าของตู้คอนเทนเนอร์ โดยเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งสินค้าให้มีความยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าว นำเสนอตัวเลือกในการเปลี่ยนเส้นทางทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งการขนส่งทางบกและมหาสมุทรเพื่อให้ง่ายและคุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
● eYard มาตรฐานใหม่สำหรับการดำเนินงานคอนเทนเนอร์
ตู้คอนเทนเนอร์หลายล้านตู้ถูกจัดเก็บในสถานีโกดังทั่วโลกในแต่ละปีเพื่อรอขนถ่ายลงเรือหรือในการขนถ่ายสินค้าขนส่งในครั้งถัดไป ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์จะมีค่าใช้จ่ายหน้าท่าหรือค่ายกตู้สินค้า ทำให้การกำหนดตำแหน่งและการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์เป็นปัจจัยสำคัญในการทำกำไรให้โกดัง
eYard น้องใหม่ในวงการขนส่ง จึงได้พัฒนากระบวนการแก้ปัญหาที่ขับเคลื่อนด้วย AI (Artificial Intelligence) สำหรับปรับตำแหน่งตู้คอนเทนเนอร์ให้เหมาะสมและลดจำนวนการเคลื่อนที่ที่ไม่เกิดประโยชน์ในโกดัง กระบวนการแก้ปัญหาดังกล่าวได้รับการฝึกฝนมาพร้อมๆ กับการควบคุมคอนเทนเนอร์จริงจากสถานีท่าโกดัง ผลลัพธ์จะแสดงในอินเทอร์เฟซบน Cloud เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเครื่องมือและข้อมูลมากยิ่งขึ้น
● F-Drones โดรนส์สำหรับการขนส่งทางทะเล
ปกติแล้วหากเรือต้องการอะไหล่หรืออุปกรณ์เรือในระหว่างเดินทะเล ปัจจุบันจะมี 3 ตัวเลือกด้วยกัน นั่นคือ การจัดหาเสบียงจากท่าเรือและการทอดสมอเรือนอกชายฝั่ง แล้วรออะไหล่หรืออุปกรณ์จากเรือขนส่งหรือ อาศัยเฮลิคอปเตอร์ในการขนส่งอะไหล่ ซึ่งตัวเลือกที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นมีราคาแพงมากจนไม่สามารถเรียกใช้งานได้ในสถานการณ์ปกติ ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน ในอุตสาหกรรมนอกชายฝั่ง เฮลิคอปเตอร์เป็นวิธีเดียวที่จะเคลื่อนย้ายอะไหล่และชิ้นส่วนไปยังแท่นขุด
ด้วยการสนับสนุนจากผู้ประกอบการรายแรก F-Drones ในสิงคโปร์ ที่กำลังสร้างโดรนการเปลี่ยนผ่านครั้งแรกของโลกสำหรับการขนส่งทางทะเล ซึ่งโดรนแบบอิสระ ปกติแล้วจะขึ้นและลงในแนวดิ่ง แต่โปรเจ็กต์การสร้างโดรนขนส่งทางทะเล จะเปลี่ยนไปสู่การบินแบบคงที่ ที่สามารถบรรทุกน้ำหนัก 100 กิโลกรัม และออกห่างจากนอกชายฝั่งได้ 100 กม. ช่วยประหยัดต้นทุน 80% รวมทั้งเวลา และกำลังพลของอุตสาหกรรมการเดินเรือนอกชายฝั่งแบบดั้งเดิม
● MarCoPay แอปพลิเคชันเงินสดสำหรับนักเดินเรือ
ปัจจุบันส่วนใหญ่ของนักเดินเรือ 1.6 ล้านคนทั่วโลก ได้รับการจ่ายเงินเดือนเป็นเงินสดสกุลดอลล่าร์สหรัฐ นั่นหมายความว่าพวกเขาต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่สูงขึ้นในการส่งเงินกลับบ้าน โดยเงินสดจำนวนหลายล้านดอลล่าร์ ที่ได้รับบนเรือขนส่งสินค้าของโลกนั้น จัดว่ามีความเสี่ยงสูงมากต่อการถูกละเมิดลิขสิทธิ์และการถูกโจรกรรม ทั้งยังต้องใช้เวลาอีกมากในการจัดการของกัปตันเรือ
MarCoPay เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างสายเรือ NYK Line ของญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ กลุ่มขนส่ง(ชิปปิ้ง)ดังกล่าวได้สร้างแพลตฟอร์ม Fintech (Financial Technology คือกลุ่มธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการให้การบริการด้านการเงินและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ) เพื่อช่วยให้นักเดินเรือสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายและส่งเงินเดือนในรูปของ e-money ได้อย่างสะดวกมากขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดการใช้เงินสดบนเรือและทำให้ลูกเรือสามารถส่งเงินกลับบ้านได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยแม้ในขณะที่อยู่ในทะเล
ที่มาข้อมูล : https://thetius.com/five-new-maritime-startups-to-watch-in-2020/